การจ่ายค่าจ้างระหว่างลาของลูกจ้างประจำ

ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526

ประเภทการลา ลูกจ้างประจำ หมายเหตุ ลูกจ้างชั่วคราว หมายเหตุ
1. ลากิจส่วนตัว

ไม่เกิน 45 วัน
ทำการ

ปีที่เริ่มทำงานไม่เกิน 15 วันทำการ

ไม่ได้รับสิทธิ

 
         
2. ลาป่วย

ไม่เกิน 60 วัน
ทำการ

หน.ส่วนราชการในส่วนกลาง
ต่อได้อีก 90 วันทำการ

- เริ่มเข้าปฏิบัติงานในปีแรก ลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน  8 วันทำการ
(ยกเว้น กรณีระยะเวลาปฏิบัติงานในปีแรก (ระยะเวลาตามคำสั่งจ้าง) ไม่ครบ 6 เดือน ไม่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิดังกล่าว

- ในปีถัดไปถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างต่อเนื่องมีสิทธิลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 15 วันทำการ
 
         
3. ลาคลอดบุตร ไม่เกิน 90 วัน

-

ไม่เกิน 90 วัน

แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วันโดยต้องปฏิบัติงานครบ 7 เดือน ในปีแรก

         
4. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ไม่เกิน 30 วัน
ทำการ
โดยต้องนับรวมกับวันลากิจฯ 45 วันทำการ ด้วย

-

-

         
5. ลาอุปสมบท ลาประกอบพิธีฮัจย์

ไม่เกิน 120 วัน

ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 12 เดือน

-

-

         
6. ลาเข้ารับการระดมพล /ฝึกวิชาทหาร / ทดลองความพรั่งพร้อม

ตลอด

โดยต้องรายงานตัวภายใน 7 วัน เมื่อพ้น ไม่เกิน 2 เดือน

-

         
7. ลาศึกษาต่างประเทศ

ตลอด

อยู่ในดุลยพินิจของเจ้ากระทรวง

-

-

         
8. ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ

ตลอด

- ทำความตกลงกับ ก.คลัง

- ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา

-

-

         
9. การศึกษา อบรม ดูงานในประเทศ

-

เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.คลัง กำหนด โดยความเห็นชอบของ ค.ร.ม.

-

-

         
10. ลาพักผ่อน

-

ตามระเบียบการลาของ ขรก.

- มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 10 วัน

ต้องปฏิบัติราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่มีวันลาสะสม